วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

ระบบสารสนเทศ


1. ระบบสารสนเทศตามประเภทของธุรกิจ 


ธุรกิจ 7-eleven 


ประวัติ ความเป็นมา 7-11


        ร้านสะดวกซื้อในนาม เซเว่น อีเลฟเว่นได้เปิดประวัติศาสตร์เป็นร้านค้าปลีกครั้งแรกในปี พ.ศ.2470 เป็นร้านค้าปลีกในชุมชนชื่อ บริษัท เซาท์แลนด์ไอซ์  (เซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น) ณ  เมืองดัลลัสมณรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนำสินค้าอุปโภคบริโภค ประเภทนม ขนมปัง และไข่เข้ามาจำหน่ายและเปลี่ยนชื่อร้านใหม่เป็นชื่อว่า โทเท็ม สโตร์ (Tote’m Store)  จึงถือว่าเป็นจุดกำเนิดร้านค้าเพื่ออำนวยความสะดวกเป็น   ครั้งแรกและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น เซเว่น อีเลฟเว่น เป็นครั้งแรกโดยนำเวลาในการเปิด –  ปิด คือ 7.00-23.00 น. ทุกวันไม่มีวันหยุด   ซึ่งปัจจุบัน เซเว่น อีเลฟเว่นได้ขยายปีสาขากว่า 24,000 ทั่วโลกและกลายเป็นสัญลักษณ์ของร้านสะดวกซื้อที่มีมาตรฐานการบริการที่ดีเยี่ยมและทรงประสิทธิภาพ ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า จนเป็นร้านสะดวกซื้อที่เป็นขวัญใจของชุมชน  เครือเจริญโภคภัณฑ์ผู้กำเนิด เซเว่น อีเลฟเว่น ในเมืองไทยเครือซี.พี. มีความสนใจในเรื่องธุรกิจการตลาด และการจัดจำหน่ายโดยยึดหลักสำคัญในการดำเนินธุรกิจ คือการผสมผสานความร่วมมือระหว่าง คน กับ เทคโนโลยี อย่างสอดคล้องทั้งสามด้าน คือ กาลเวลา สถานที่ และประเภทสินค้า ต้องมี “เทคโนโลยี ตลาด และเงินทุน” และธุรกิจที่ทำนั้นต้องตอบสนองผู้บริโภคเป็นสำคัญ มีนโยบายสำคัญอีกข้อหนึ่งคือการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจเป็นเพราะวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และไม่ปิดกั้นทางธุรกิจขององค์กร เครือ ซี.พี.นั้นเห็นว่าถ้าองค์กรไหนที่มีเทคโนโลยีและเก่งเป็นที่ยอมรับและมีความเป็นไปได้ในทางธุรกิจ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญ เป็นบริษัทชั้นนำของโลก  “เซเว่น อีเลฟเว่น” ได้ถือกำเนิดขึ้นในเมืองไทย โดยที่เครือซี.พี.ได้ตัดสินใจเซ็นสัญญาซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการค้าปลีก (License) จากบริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซีพี ออล  จำกัด)  เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 และเริ่มเปิดดำเนินการสาขาแรกที่ถนนพัฒนพงศ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 1มิถุนายน พ.ศ.2532 ภาระเร่งด่วนในการที่จะนำเซเว่นอีเลฟเว่นมุ่งสู่ความสำเร็จนั้นก็คือการสรรหาคนเก่งสู่องค์กร การขยายสาขา และ โฆษณาประชาสัมพันธ์เล็งเห็นความสำคัญของร้านค้าปลีกตามแหล่งชุมชนใกล้บ้านที่มีมาตั้งแต่อดีต จึงนำธุรกิจแบบดั้งเดิมมาผสม ผสานกับระบบการจัดการที่มีคุณภาพและทันสมัย คุณก่อศักดิ์นั้น มีวิสัยทัศน์ในการบริการงานว่า การทำงานกันเป็นทีมเท่านั้นถึงจะประสบความสำเร็จได้ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เซเว่นอีเลฟเว่นนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภค เป็นเพราะว่าได้นำกลยุทธ์สำคัญ ที่เน้นให้บริการแบบอบอุ่นและเป็นกันเองโดยหยิบยกเอาวัฒนธรรมไทยในการไหว้และคำกล่าวทักทาย “สวัสดี”เปิดการขายและปิดการขายด้วยการ“ขอบคุณ” ทุกครั้งสร้างมิติใหม่ในการค้าของร้านสะดวกซื้อบริการ      “เคาน์เตอร์เซอร์วิส” เป็นแห่งแรกของประเทศไทยเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการชำระค่าสาธารณูปโภคทุกประเภทได้แก่ ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และบริการจากการผ่อนสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพราะทำให้ลูกค้านั้นประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งยังชำระได้ตลอด 24 ชั่วโมง มีการติดตั้งเครื่อง ATM ไว้ที่ร้านสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป


2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS)
            ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุดโดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกันOAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์(ElectronicData Interchange) แทน ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ คือ
  1. รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , FAX
  2. รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกล แบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing) การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video - Conferencing)
สำนักงานที่จัดว่าเป็นสำนักงานอัตโนมัติ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ คือ
  1. Networking System คือ ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร 
    2. Electronic Data Interchange คือ การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกันโดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน
   3. Internet Working (Internet) คือ การรวมตัวกันของระบบข่ายงาน ที่กระจายอยู่ทั่วโลกจนกลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
4. Paperless System คือ ระบบที่ไม่ใช้กระดาษ อาทิ Post Of Sale (POS) เป็นการขายแบบมีการบันทึกรายการขายและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าทันทีที่มีการขาย ณ จุดขายนั้นๆ Electronic FundsTransfer (EFT) เป็นระบบการโอนเงินอัตโนมัติของธนาคารโลก



http://slideplayer.in.th/slide/2174200/



3. ระบบการประมวลผลรายการ (Transaction Processing System หรือ TPS)
          ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ มักเป็นการประมวลผลต่อวัน เช่น การรับ จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบรายรับ จ่ายสินค้า ระบบนี้เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับ การพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ลักษณะเด่นของระบบ TPS คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งระบบนี้เกือบทั้งหมดใช้การประมวลผลแบบออนไลน์ และสิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ
 - ลดจำนวนพนักงาน
 - องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว
- ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น    


http://www2.cvc.ac.th




4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ต้องการ การประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการช่วยงานแบบต่อวัน MIS จึงมีความสามารถในการคำนวณเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งมีความหมายต่อการจัดการและบริหารงานเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นระบบนี้ยังสามารถสร้างสารสนเทศที่ถูกต้องทันสมัย
คุณสมบัติของระบบ MIS คือ
- ระบบ MIS สนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน
- ระบบ MIS จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร
 - ระบบ MIS จะช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงเรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ
- ระบบ MIS จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงขององค์กร
- ระบบ MIS ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น


https://site/vaiyavit5051/bth-thi-2



5. ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System – DSS)
          ระบบช่วยตัดสินใจ หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศ เพื่อช่วยในการตัดสินใจหากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูงเรียกว่า ระบบสนับสนุนการตัดสินในเพื่อผู้บริหารระดับสูง” (Executive Support System : ESS) บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MIS ไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัท การขยายโรงงานใหม่ เป็นต้น
คุณสมบัติของระบบ DSS คือ
- ระบบ DSS จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ - ระบบ DSS จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้
 - ระบบ DSS จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับแต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
- ระบบ DSS มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
- ระบบ DSS ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ สามารถใช้งานได้ง่ายผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย
- ระบบ DSS ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสภาพการณ์ต่างๆ
- ระบบ DSS ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว - ระบบ DSS ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
- ระบบ DSS ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางเวลาขององค์กร
- ระบบ DSS มีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

https://lalita0077.wordpress.com




6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS หรือ Executive Support System: ESS)
          ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
คุณสมบัติของระบบ EIS
 - มีการใช้งานบ่อย
- ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
- ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
 - การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
 - การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
- ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
- การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
- ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ข้อดีของระบบ EIS
1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อด้อยของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล



https://dimitriictprojects.blogspot.com



7. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
          ระบบผู้เชี่ยวชาญหมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ระบบนี้ได้รับความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่งเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์เหตุผลเพื่อตัดสินใจความรู้ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้ (Knowledge Bass) และกฎข้อวินิจฉัย (Inference Rule)ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัยความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้าโดยใช้คอมพิวเตอร์


อธิบายความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศแต่ละชนิด
    ระบบOAS จะเกื้อหนุนการทำงานของ TPS โดย MIS จะทำการนำข้อมูล TPS มาประมวลผลแล้วสรุปผลข้อมูล ซึ้งDSS จะสนับสนุนการตัดสินใจให้กับผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง  และระบบES ก็จะช่วยพยากรณ์ให้กับผู้บริหารระดับสูงและระดับกลาง ซึ้งDSS และESจะเหมือนกันทีต้อง และระบบสุดท้าย EIS จะสนับสนุนผู้บริหารสูง โดยจะนำข้อมูลที่ผ่านการสรุปผลจาก MIS

http://kookaii3.blogspot.com/2012/07/4.html




8. ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS)
          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยการกำหนดข้อมูลเชิงบรรยายหรือข้อมูลคุณลักษณะ (attribute data) และสารสนเทศ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ (spatial data) เช่น ตำแหน่งบ้าน ถนน แม่น้ำ เป็นต้น ในรูปของ ตารางข้อมูล และ ฐานข้อมูล
ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุงและการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ เช่น
-การแพร่ขยายของโรคระบาด
-การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน
-การบุกรุกทำลาย
-การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่
ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน



https://th.wikipedia.org/wiki



9.ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence Systems: BI)
การใช้ BI ในองค์กร

       ปัจจุบันธุรกิจต้องพัฒนาขีดความสามารถในกา­รแข่งขันอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศมาสนับสนุนการดำเนินงาน การตัดสินใจ การวางกลยุทธ์ การกำหนดนโยบายทางธุรกิจ และการสร้างนวัตกรรม (Innovation)ดังนั้น Microsoft SQL Server® 2008 จึงได้รับการออกแบบมาเพื่อเป็นแพล็ตฟอร์มส­ำหรับการบริหารฐานข้อมูลที่สำคัญให้กับองค­์กรธุรกิจ พร้อมเครื่องมือบริหารจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเปิดโอกาสให้เรียกใช้ข้อมูลได้จากอุปกร­ณ์หลากหลาย ทั้งคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป และอุปกรณ์มือถือ และเมื่อใช้ร่วมกับ Microsoft SharePoint® Server ซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิ­ภาพให้กับองค์กร ด้วยความสามารถในการจัดการเนื้อหา การค้นหาข้อมูลในองค์กร ทำให้ผู้ใช้ทำงานร่วมกันได้รวดเร็วขึ้น และอำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูลร่วมกันทั­้งองค์กร โดยทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงทีมงานและความร­ู้ในกระบวนการทางธุรกิจเข้าด้วยกัน จึงทำให้ภาคองค์กร และธุรกิจนั้นสามารถลดต้นทุนในการจัดการ วิเคราะห์ และนำข้อมูลไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได­้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้ท่านสูญเสียโอกาสทางธุรกิจได้




http://m.exteen.com/blog/it02-bi/20150319/bi



ที่มาเว็บไซต์ : https://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น